สวัสดีครับ ครั้งนี้เราจะมาต่อตอนที่ 2 ในหัวข้อ หลักการออกแบบ ซึ่งเมื่อเราได้ศึกษาครบทุกข้อแล้ว จะทำให้เรามีไอเดียในการออกแบบ และสร้างสรรค์ผลงานทางได้ศิลปะได้ง่ายขึ้น
5. ความกลมกลืน ( Harmony )
การจัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันหรือคล้ายๆ แล้วอย่าลืมการจัดสีอะครีลิคกันมาจัดภาพทำให้เกิดความนุ่มนวลกลมกลืนกันมี 3 แบบดังนี้
A. กลมกลืนในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ ทำให้เป็นชุดเดียวกัน
B. กลมกลืนในความหมาย เช่น การออกแบบเครื่องหมายการค้า และ โลโก
C. กลมกลืนในองค์ประกอบได้แก่
– กลมกลืนด้วยเส้น – ทิศทาง
– กลมกลืนด้วยรูปทรง – รูปร่าง
– กลมกลืนด้วยวัสดุ – พื้นผิว
– กลมกลืนด้วยสี มักใช้โทนสีที่ใกล้กัน
– กลมกลืนด้วยขนาด – สัดส่วน
– กลมกลืนด้วยน้ำหนัก
6. จังหวะ (Rhythm)
จังหวะเกิดจากการต่อเนื่องกันหรือซ้ำซ้อนกัน จังหวะที่ดีทำให้ภาพดูสนุก เปรียบได้กับเสียงเพลงอันไพเราะในด้านการออกแบบ ในแบบสีอะครีลิคแบ่งจังหวะ เป็น 4 แบบคือ
– จังหวะแบบเหมือนกันซ้ำๆกัน เป็นการนำเอาองค์ประกอบหรือรูปที่เหมือนๆ กันมาจัดวางเรียงต่อกัน ทำให้ดูมีระเบียบ ( order ) เป็นทางการ การออกแบบลายต่อเนื่อง เช่น ลายเหล็กดัด ลายกระเบื้องปูพื้นหรือผนัง ลายผ้า เป็นต้น
– จังหวะสลับกันไปแบบคงที่ เป็นการนำองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกันอย่างต่อเนื่อง เป็นชุด เป็นช่วง ให้ความรู้สึกเป็นระบบ สม่ำเสมอ ความแน่นอน
– จังหวะสลับกันไปแบบไม่คงที่ เป็นการนำองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกัน อย่างอิสระ ทั้งขนาด ทิศทาง ระยะห่าง ให้ความรุ้สึกสนุกสนาน
– จังหวะจากเล็กไปใหญ่ หรือจากใหญ่ไปเล็ก เป็นการนำรูปที่เหมือนกัน มาเรียงต่อกันแต่มีขนาดต่างกัน โดยเรียงจากเล็กไปใหญ่ หรือ จากใหญ่ไปเล็กอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพมีความลึก มีมิติ
7. ความลึก / ระยะ ( Perspective )
ให้ภาพดูสมจริง คือ ภาพวัตถุใดอยู่ใกลัจะใหญ่ ถ้าอยุ่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลำดับ จนสุดสายตา ซึ่งมีมุมมองหลักๆ อยู่ 3 ลักษณะ คือ วัตถุอยู่สูงกว่าระดับตาวัตถุอยู่ในระดับสายตา และวัตถุอยู่ตต่ำกว่าระดับสายตา
8. ความขัดแย้ง ( contrast )
ความขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกันเข้ากันไม่ได้ ไม่ประสานสัมพันธ์กัน ขององค์ประกอบศืลป์ ทำให้ขาดความกลมกลืน ในเรื่องรูปทรง สี ขนาดลักษณะผิวที่แตกต่างกัน ดังนั้นนักออกแบบที่ดี จะต้องลดความขัดแย้งดังกล่าว ให้เป็นความกลมกลืน จึงจะทำให้งานออกแบบมีคุณค่า ลักษณะของความขัดแย้ง เช่น ความขัดแย้งของรูปร่าง ความขัดแย้งของขนาดต่างๆ เป็นต้น
9. การซ้ำ ( Repetition ) คือ
การปรากฎตัวของหน่วยที่เหมือนกันตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไปเป็นการรวมตัวกันของสิ่งที่มีอยูฝ่ายเดียวเข้าด้วยกัน เช่น การซ้ำของน้ำหนักตำ การซ้ำของเส้นตั้ง การซ้ำของน้ำหนักเทา การซ้ำของรูปทรงที่เหมือนกัน เป็นต้น
การซ้ำสามารถใช้ประกอบโครงสร้างสิ่งต่างๆ ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เช่น กราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ ลวดลายผ้า เป็นต้น สิ่งสำคัญของการซ้ำ คือ ส่วนประกอบของการซ้ำและหลักการจัดองค์ประกอบของการซ้ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูล ในการสร้างและต้องเข้าใจในหลักการประกอบส่วนย่อยนั้นเข้าด้วยกัน
ซึ่งการซ้ำสามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 8 รูปแบบ
– การเรียงลำดับ ( Translation in step )
– การสลับซ้าย – ขวา (Reflection about line )
– การหมุนรอบจุด (Rotation about a point )
– การสลับซ้าย – ขวา และหมุนรอบจุด (Reflection and rotation)
– การสลับซ้ายขวา และเรียงลำดับ ( Reflection and translation )
– การหมุนรอบจุด และเรียงลำดับ (Rotation and translation)
– การเรียงลำดับสลับจังหวะ (Reflection and alternate translation )
– การผสมระหว่างเรียงลำดับ สลับจังหวะและหมุนรอบจุด ( Reflection, rotation and translation )
จากบทความนี้ เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น คุณสามารถไปทดลองได้
โดยสั้งซื้อสีอะครีลิค BEE ได้ในเว็บเรา คลิก >>> ซื้อสีอะคริลิค